3 สิ่งรู้ก่อนออกแบบบ้าน
3สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนจ้างสถาปนิก
3 ขั้นตอนนี้จะพูดถึงสิ่งที่จะทำให้การทำงานร่วมกับสถาปนิกง่ายขึ้น
1.Activities (A.)
กิจกรรมในที่นี้พูดถึง ความต้องการในเรื่องของพื้นที่ใช้สอย หรือพูดง่ายๆ คือ กิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นภายในอาคารที่ต้องการออกแบบ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการออกแบบของสถาปนิก หากเป็นอาคารประเภทที่พักอาศัย จะมีความต้องการพื้นที่พื้นฐานทั่วไปและความต้องการพิเศษ ดังเช่น
ความต้องการพื้นที่พื้นฐานทั่วไป เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการใช้งานพื้นฐานของการพักอาศัย
– ห้องนั่งเล่น –พักผ่อน – ทำครัว – ทานอาหาร – นอน – อาบน้ำ – ที่เก็บของ
ความต้องการพื้นที่พิเศษ เป็นกิจกรรมพิเศษ ที่เกิดความชอบส่วนบุคคล หรือกิจกรรมเฉพาะของเจ้าของ
– พื้นที่ดูดาว – ห้องเล่นหุ้น – พื้นที่เก็บจักรยาน – พื้นที่แสดงของสะสม – ห้องดูภาพยนตร์
อาคารประเภทเชิงพานิชย์ อาคารประเภทนี้จะมีการใช้งานเพื่อประกอบกิจการ ซึ่งในแต่ละกิจการนั้นจะมีความเฉพาะเจาะจง
ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละกิจกรรม โดยแนะนำให้เจ้าของกิจการ สรุปกิจกรรมที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมตามโครงสร้างของกิจการ ดังนี้
กิจกรรมพื้นฐาน
– ส่วนชำระเงิน – ส่วนผลิต – ส่วนสำนักงาน – ส่วนเก็บสินค้า -เป็นต้น
กิจกรรมเพื่อตอบสนองลูกค้า
– พื้นที่นั่ง (จำนวนโต๊ะ หรือห้อง เพื่อรองรับ บริการ) – พื้นที่นั่งรอและต้อนรับลูกค้ากิจกรรมพิเศษ
– พื้นที่สร้างความแตกต่างให้ลูกค้าตามสินค้าและบริการ – พื้นที่ถ่ายรูปและอื่นๆ
ในส่วนของการกำหนด กิจกรรมของอาคารเชิงพานิชย์นั้นมีความสอดคล้องกับวางแผนธุรกิจค่อนข้างสูง ดังนั้น หากเป็นไปได้ การทำงานของสถาปนิก อาจจะต้องมีการร่วมประชุมกับส่วนงานวางแผนธุรกิจ
และการตลาด ในกิจการ เพื่อความเข้าใจในการออกแบบพื้นที่
2.Budget (B.)
งบประมาณเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ไม่กล่าวถึงคงจะไม่ได้ เพราะเป็นส่วนขับเคลื่อนหลักของโครงการ รวมไปถึงเป็นขอบเขตของการทำงานทั้งหมดของโครงการ การกล่าวถึงงบประมาณ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการออกแบบ จะทำให้สถาปนิก สามารถควบคุมงบประมาณ แนะนำวัสดุที่เหมาะสม รวมไปถึงการตกแต่ง ขนาดของพื้นที่ ที่เหมาะสม กับเจ้าของโครงการได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถ ประเมินค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าบริการวิชาชีพ และขอบแขตการทำงานของสถาปนิกได้ง่ายขึ้นด้วย
การประเมินค่าใช้จ่ายโครงการเบื้องต้น สามารถคิดได้หลากหลายวิธี ในส่วนวิธีที่จะนำมาแนะนำนั้นเพื่อให้เข้าใจและปฎิบัติได้ง่าย จะขอแบ่งออกเป็น 2 วิธี ด้วยกัน คือ
1.คิดจากงบประมาณไปพื้นที่
โดยเริ่มต้นอาจจะวางงบประมาณ ที่ต้องการใช้ในงานก่อสร้างโครงการก่อน จากนั้นค่อยนำเอางบประมาณมาแปลงเป็นพื้นที่ด้วยการหารราคาก่อสร้างต่อตารางมตร เพื่อให้ขอบเขตของปริมาณพื้นที่ขึ้นมา
ดังเช่น งบประมาณก่อสร้าง 2,000,000.-บาท ตั้ง หารด้วย
ราคาก่อสร้างต่อ ตรม. 16,000.-บาท (ตามแต่ราคาวัสดุในช่วงเวลานั้นๆ)
พื้นที่ที่ก่อสร้างได้ตามงบประมาณ 125 ตรม.
ค่าวิชาชีพสถาปนิก 7.5%ของงบ 150,000.-
รวม 2,150,000.- บาท ก่อสร้างได้อาคาร 125 ตรม.
2.คิดจากพื้นที่ไปงบประมาณ
เริ่มต้นจากการคิดถึงพื้นที่ใช้สอยของโครงการ ก่อนแล้วจึงนำไปคูณกับราคาก่อสร้างต่อตารางเมตร เพื่อให้ได้ขอบเขตงบประมาณในการก่อสร้าง
ดังเช่น พื้นที่ที่ต้องการ 300 ตรม. ตั้ง คูณด้วย
ราคาก่อสร้างต่อ ตรม. 16,000.-บาท (ตามแต่ราคาวัสดุในช่วงเวลานั้นๆ)
งบประมาณก่อสร้าง 4,800,000.-บาท
ค่าวิชาชีพสถาปนิก 7.5%ของงบ 360,000.-
รวม 5,160,000.- บาท ก่อสร้างได้อาคาร 300 ตรม.
ทั้งนี้เมื่อได้พื้นที่เบื้องต้นควรนำเอางบประมาณและพื้นที่ทีต้องการ ปรึกษากับทางสถาปนิกอีกครั้ง
เพื่อให้ได้งบประมาณต่อตารางเมตรในการก่อสร้างทีคุ้มค่าต่อการลงทุนที่สุด
***ราคาก่อสร้าง ต่อ ตรม. นั้นเป็นเพียงราคาประมาณการ มีการปรับเปลี่ยนได้ ตามรูปแบบของพื้นที่ เช่น ระเบียงและลานจอดรถ จะมีราคาต่อ ตรม.ที่ถูกกว่า รวมไปถึงสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบของวัสดุ อยู่ในขอบเขตตั้งแต่ 10,000.-บาท ไปจนถึง 50,000.-บาท ขึ้นไป ต่อ ตรม. ขึ้นอยู่กับวัสดุในการก่อสร้างและรายละเอียดของแบบ
3.Copy (C.)
สำเนาเอกสารและไฟล์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่โครงการ โดยปกติแล้ว ทางเจ้าของจะมีเอกสารบางส่วนที่เตรียมไว้เพื่อมอบให้สถาปนิก นอกจากจะทำให้สถาปนิกทำความเข้าใจกับโครงการได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังทำให้โครงการนั้นมีความรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น โดยสิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการทำงานของสถาปนิก จะประกอบไปด้วยเอกสารและไฟล์ ดังนี้
1.สำเนาฉโนดที่ดิน
2.เอกสารรางวัดเป็นเอกสาร หรือไฟล์ .dwg (ถ้ามี)
3.รูปถ่ายโครงการเบื้องต้น
4.Case study หรือภาพของพื้นที่ รูปแบบ กิจกรรม ที่ต้องการในพื้นที่
5.สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของโครงการ
*ใช้เพื่อประกอบการทำสัญญาว่าจ้างสถาปนิก
6.แผนระยะเวลาของโครงการ
7.แผนงบประมาณของโครงการ
ทั้งนี้มีหลายๆโครงการที่ไม่มีการเตรียมข้อมูลเบื้องต้นของโครงการไว้ให้สถาปนิกทำให้การดำเนินเกิดการชะงัก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและการรอ สรุปในทั้งสามหัวข้อข้างต้น ทำให้โครงการต้องเลื่อนจากกำหนดการไป ในบางโครงการนั้นถึงกับต้องยกเลิก เพราะไม่มีการเตรียมความพร้อมข้างต้น ฉะนั้นการเตรียม “3สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการจ้างสถาปนิก” นั้นจึงมีความจำเป็นต่อการ
ทำงานโครงการเป็นอย่างมาก
ลิขิต = ขีดเขียน
—————————————————————————–
Likhit design studio co.,ltd.